ประวัติความเป็นมา
คณะบริหารธุรกิจ

     คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang Business School มีชื่อย่อว่า KMITL Business School (KBS) ได้รับการจัดตั้งตามประกาศสถาบันฯ เรื่องการจัดตั้งส่วนงานในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2563 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหน้า 39 เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 115 ง เมื่อ 16 พฤษภาคม 2563 โดยให้มีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ทางด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม คณะบริหารธุรกิจ เป็นคณะที่มีการเริ่มต้นและพัฒนามายาวนานมากกว่า 30 ปี ซึ่งแสดงให้เห็น ช่วงเวลา (Timeline) ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 จนถึงปัจจุบัน (ดังภาพด้านล่าง) โดยสามารถแบ่งการพัฒนาการและความเป็นมาของคณะออกเป็นสี่ช่วง ดังนี้

ช่วงที่ 1 (พ.ศ. 2526-2552) เป็นช่วงของการพัฒนาหลักสูตรทางด้านการบริหารและจัดการ ตลอดจนวิชาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสังกัดในภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร โดยพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ บริหารธุรกิจเกษตร (วท.บ.) และ เทคโนโลยีการจัดการ (วท.บ.) ต่อมาปี 2539-2545 ได้พัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษา จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ บริหารธุรกิจ (บธ.ม.) และการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (บธ.ม.) จึงทำให้ภาควิชามีหลักสูตรทั้งสิ้น 4 หลักสูตร นอกจากนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว ภาควิชาภาษาและสังคม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ได้พัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและจัดการในระดับบัณฑิตศึกษา คือ หลักสูตรวิทยาการจัดการอุตสาหกรรม (วท.ม.) ในปี 2540

ช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2553-2558) เป็นช่วงของการนำหลักสูตรด้านการบริหารและจัดการที่กระจายอยู่ในสองคณะมาร่วมกันในนาม “วิทยาลัยการบริหารและจัดการ (Administration and Management Collage: AMC)” สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับการจัดตั้งตามประกาศสถาบันฯ เรื่องการจัดตั้งส่วนงานในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหน้า 69 เล่มที่ 127 ตอนพิเศษ 16ง เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2553 โดยให้มีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจและวิทยาการจัดการ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และได้พัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่ใหม่เป็น 3 ระดับ ได้แก่ หลักสูตรปริญญาตรีด้านบริหารธรกิจบัณฑิต จำนวน 3 สาขา (สาขาบริหารอุตสาหกรรม สาขาบริหารเทคโนโลยี และสาขาบริหารธุรกิจเกษตร) หลักสูตรบัณฑิตศึกษาด้านบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม

ช่วงที่ 3 (พ.ศ. 2559-2562) เป็นช่วงของการดำเนินงานเป็นคณะ ในนามคณะการบริหารและจัดการ (Faculty of Administration and Management: FAM) และ แบ่งหน่วยงาน เป็น 3 ภาควิชา 1 ศูนย์บริการวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจแก่สังคม ได้แก่ ภาควิชาบริหารธุรกิจ ภาควิชาบริหารธุรกิจนานาชาติ และ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มีหลักสูตรทั้งสิ้น 7 หลักสูตร ปริญญาตรี 3 หลักสูตร ประกอบด้วย บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธบ.) บริหารธุรกิจบัณฑิตนานาชาติ (B.B.A.) เศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ (วท.บ) หลักสูตรบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม) หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตการจัดการกีฬาและสื่อบันเทิง (บธ.ม) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม (ปร.ด.) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมนานาชาติ (Ph.D.)

ช่วงที่ 4 (พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน) เป็นช่วงของการปรับเปลี่ยนคณะเป็นคณะบริหารธุรกิจตามประกาศ ราชกิจจานุเบกษา หน้า 39 เล่ม 137 ตอนพิเศษ 155 ง ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 ได้ประกาศการจัดตั้งส่วนงานในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ฉบับที่ 16) 2563 เปลี่ยนแปลงชื่อ คณะการบริหารและจัดการ เป็น คณะบริหารธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาวการณ์ ด้านการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดทั้งให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและภาระหน้าที่ ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันของคณะ ตามนโยบายของสถาบัน และ วิสัยทัศน์ของประเทศไทยในยุคปัจจุบัน อีกทั้งคณะได้มีต้นแบบในการบริหารจัดการแบบสากลตามหลักการของ Harvard Business School จึงเห็นควรให้เปลี่ยนชื่อจากเดิมเป็น คณะบริหารธุรกิจ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang Business School มีชื่อย่อว่า KMITL Business School (KBS) เป็นช่วงของการปรับเปลี่ยนคณะให้เข้าสู่ความเป็นนานาชาติ (International Outlook) เพิ่มมากขึ้นให้สามารถแข่งขันในระดับโลกได้ มีอาคารเรียนใหม่ที่แสดงถึงความเป็นนานาชาติ (International) มากขึ้น ประกอบด้วย ห้องเรียนที่ทันสมัย ห้องสอนออนไลน์ มี แพลทฟอร์มการสอนออนไลน์ (KBS Online) ห้องสัมมนา ห้องประชุมวิชาการ ห้องฝึกปฏิบัติอาชีพ ห้องแลปทางบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ ห้อง Co-Working Space ห้อง Hall of Frame มีมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน อาคารสถานที่ ที่เป็นมาตรฐานสากล (World Class) มีการจัดการเรียนการสอนทั้งในระบบ ออนไลน์ และ ออฟไลน์ มีหลักสูตรดีกรี และ หลักสูตรอบรมเพิ่มพูนทักษะ (Reskill-Upskill) อบรมแล้วสามารถเปลี่ยนเป็นหลักสูตรที่สะสมเครดิต (Credit) ได้ และเน้นการบริหารจัดการหลักสูตรในด้านการเป็นผู้ประกอบการระดับโลก (Global Entrepreneur) และดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital Technology) เพื่อนำคณะเข้าสู่การจัดอันดับโลก (World Ranking) ด้านบริหารธุรกิจ เช่น EdUniversal, และ AACSB อีกทั้งดำเนินงานเป็นคณะในนามคณะบริหารธุรกิจ (KMITL Business School : KBS) และยกเลิกการแบ่งหน่วยงานเป็นภาควิชา ให้มีการบริหารจัดการเรียนการสอนเบ็ดเสร็จในระดับหลักสูตร มีหลักสูตรทั้งที่เป็นไทย และ นานาชาติ โดยมีหลักสูตรทั้งสิ้น 8 หลักสูตร ปริญญาตรี 4 หลักสูตรประกอบด้วย บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธบ.) บริหารธุรกิจบัณฑิตนานาชาติ (B.B.A.) เศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ หลักสูตรนานาชาติบริหารธุรกิจบัณฑิตการเป็นผู้ประกอบการระดับโลก (BBA Global Entrepreneur) (วท.บ) และหลักสูตรบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม) หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตการจัดการกีฬาและสื่อบันเทิง (บธ.ม) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม (ปร.ด.) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมนานาชาติ (PhD) ศูนย์บริการวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจแก่สังคม ดำเนินกิจกรรมทางด้านบริการวิชาการ วิจัยฝึกอบรม มีหลักสูตรฝึกอบรมเช่น หลักสูตรยกระดับทักษะ Reskill – Upskill หลักสูตรอบรมระยะสั้น (Short course Training) หลักสูตรสะสมเครดิต (Credit Bank) หลักสูตรอบรมผู้บริหารระดับสูง (Professional Development Program) ที่ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น หลักสูตร Smart Supervisor ที่ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม หลักสูตรนักบริหารคิงบริดจ์ระดับสูง และ หลักสูตร Postdoctoral ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศสหราชอาณาจักร ให้บริการทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยหลักสูตรดีกรีและหลักสูตรฝึกอบรมแสดงในตาราง

หลักสูตรดีกรี

ระดับการศึกษา
หลักสูตร
สาขาวิชา
ประเภทหลักสูตร
ปริญญาตรี
บธ.บ.
บริหารธุรกิจ
ภาษาไทย
วท.บ.
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ
ภาษาไทย
B.B.A
Business Administration
นานาชาติ
B.B.A.
(Global Entreprenuer)
Business Administration
(Global Entreprenuer)
นานาชาติ
ปริญญาโท
บธ.ม.
บริหารธุรกิจ
ภาษาไทย
M.B.A
Industrial Business Administration
นานาชาติ
ปริญญาเอก
ปร.ด.
บริหารธุรกิจ
ภาษาไทย
D.B.A
Industrial Business Administration
นานาชาติ

หลักสูตร Non Degree

หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะในอาชีพและ สะสมเครดิต ( Reskill-Upskill and Credit Bank)

ชื่อหลักสูตร
สถาบันที่มีความร่วมมือ/ลักษณะผู้เรียน
ระยะเวลา
นักบริหารคิงบริดจ์ระดับสูง (Professional Development Program :PDP)
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศสหราชอาณาจักร/เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่ สำเร็จารศึกษาปริญญาโท และ ปริญญาเอก หรือ กำลังศึกษา มุ่งเน้นยกระดับให้เป็นนักบริหารระดับสูงในองค์กร เดินอบรมและทัศนศึกษาดูงานที่ มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศสหราชอาณาจักร 10 วัน พิเศษสำหรับผู้เข้ารับการอบรม หากสำเร็จ การศึกษาปริญญาเอกแล้ว เรียนต่ออีก 1 ปี และ ตีพิมพ์บทความวิจัย 1 เรื่องจะได้รับ ประกาศนียบัตร Postdoctoral
90 ชั่วโมง
Smart Supervisor 4.0
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ในกำกับของกระทรวงกลาโหม/ เป็นหลักสูตรที่พัฒนาหัวหน้างานให้มีทักษะการเป็น หัวหน้างานที่ชาญฉลาด สามารถบริหารจัดการงานใน องค์กรโดยใช้วิธีที่ทันสมัย สามารถผลิตงานวิจัยเชิง นวัตกรรมเพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นงานเชิงการค้า พาณิชย์ได้
42 ชั่วโมง
การสร้างนวัตกรรม และการ จัดการธุรกิจการท่องเที่ยวไทย ตามวิถีใหม่หลังโควิด 99-New Normal
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม/สำหรับบุคคลทั่วไปที่ เป็นผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท สถานที่ท่องเที่ยว ชุมชน SME และ ผู้สนใจประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว
42 ชั่วโมง
การเขียนแผนธุรกิจ
(Business Plan)
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ บุคคล ทั่วไปที่ต้องการ
42 ชั่วโมง
Development of Reading and Writing Skills in English
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ บุคคล ทั่วไปที่ต้องการ
45 ชั่วโมง
English for Business
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ บุคคล ทั่วไปที่ต้องการ
45 ชั่วโมง
English for Academic Purpose
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ บุคคล ทั่วไปที่ต้องการ
45 ชั่วโมง
Computer in Daily Life
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ บุคคล ทั่วไปที่ต้องการ
45 ชั่วโมง
Global Citizenship in 21 Century
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ บุคคล ทั่วไปที่ต้องการ
45 ชั่วโมง
Cross Cultural Management
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ บุคคล ทั่วไปที่ต้องการ
45 ชั่วโมง
Thai Society and Culture
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ บุคคล ทั่วไปที่ต้องการ
45 ชั่วโมง
Management Information System
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ บุคคล ทั่วไปที่ต้องการ
45 ชั่วโมง
English for Communication
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ บุคคล ทั่วไปที่ต้องการ
45 ชั่วโมง
Marketing Management
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจ ของผู้ประกอบการที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ บุคคล ทั่วไปที่ต้องการ
45 ชั่วโมง
พ.ศ. 2526-2552
ช่วงที่ 1 หลักสูตรบริหารธุรกิจเกษตร
เป็นช่วงของการพัฒนาหลักสูตรทางด้านการบริหารและจัดการ ตลอดจนวิชาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสังกัดในภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร โดยพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ บริหารธุรกิจเกษตร (วท.บ.) และ เทคโนโลยีการจัดการ (วท.บ.) ต่อมาปี 2539-2545 ได้พัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษา จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ บริหารธุรกิจ (บธ.ม.) และการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (บธ.ม.) จึงทำให้ภาควิชามีหลักสูตรทั้งสิ้น 4 หลักสูตร นอกจากนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว ภาควิชาภาษาและสังคม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ได้พัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและจัดการในระดับบัณฑิตศึกษา คือ หลักสูตรวิทยาการจัดการอุตสาหกรรม (วท.ม.) ในปี 2540
พ.ศ. 2526-2552
พ.ศ. 2553-2558
ช่วงที่ 2 วิทยาลัยการบริหารและจัดการ (Administration and Management Collage: AMC)
เป็นช่วงของการนำหลักสูตรด้านการบริหารและจัดการที่กระจายอยู่ในสองคณะมาร่วมกันในนาม “วิทยาลัยการบริหารและจัดการ (Administration and Management Collage: AMC)” สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับการจัดตั้งตามประกาศสถาบันฯ เรื่องการจัดตั้งส่วนงานในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหน้า 69 เล่มที่ 127 ตอนพิเศษ 16ง เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2553 โดยให้มีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจและวิทยาการจัดการ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และได้พัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่ใหม่เป็น 3 ระดับ ได้แก่ หลักสูตรปริญญาตรีด้านบริหารธรกิจบัณฑิต จำนวน 3 สาขา (สาขาบริหารอุตสาหกรรม สาขาบริหารเทคโนโลยี และสาขาบริหารธุรกิจเกษตร) หลักสูตรบัณฑิตศึกษาด้านบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2553-2558
พ.ศ. 2559-2562
ช่วงที่ 3 คณะการบริหารและจัดการ (Faculty of Administration and Management: FAM)
เป็นช่วงของการดำเนินงานเป็นคณะ ในนามคณะการบริหารและจัดการ (Faculty of Administration and Management: FAM) และ แบ่งหน่วยงาน เป็น 3 ภาควิชา 1 ศูนย์บริการวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจแก่สังคม ได้แก่ ภาควิชาบริหารธุรกิจ ภาควิชาบริหารธุรกิจนานาชาติ และ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มีหลักสูตรทั้งสิ้น 7 หลักสูตร ปริญญาตรี 3 หลักสูตร ประกอบด้วย บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธบ.) บริหารธุรกิจบัณฑิตนานาชาติ (B.B.A.) เศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ (วท.บ) หลักสูตรบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม) หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตการจัดการกีฬาและสื่อบันเทิง (บธ.ม) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม (ปร.ด.) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมนานาชาติ (Ph.D.)
พ.ศ. 2559-2562
พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน
ช่วงที่ 4 คณะบริหารธุรกิจ KMITL Business School (KBS)
คณะบริหารธุรกิจได้เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญตามประกาศราชกิจจานุเบกษา หน้า 39 เล่ม 137 ตอนพิเศษ 155 ง ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 เรื่องการจัดตั้งส่วนงานในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ฉบับที่ 16) 2563 โดยได้เปลี่ยนชื่อจาก "คณะการบริหารและจัดการ" เป็น "คณะบริหารธุรกิจ" การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาวการณ์ด้านการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและภาระหน้าที่ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันของคณะ ตามนโยบายของสถาบัน และวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในยุคปัจจุบัน โดยคณะได้นำต้นแบบการบริหารจัดการแบบสากลตามหลักการของ Harvard Business School มาประยุกต์ใช้ จึงได้กำหนดชื่อภาษาอังกฤษว่า King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang Business School หรือ KMITL Business School (KBS)
การพัฒนาคณะมุ่งเน้นการก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ (International Outlook) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก โดยได้จัดสร้างอาคารเรียนใหม่ที่สะท้อนความเป็นนานาชาติ ประกอบด้วยห้องเรียนที่ทันสมัย ห้องสอนออนไลน์พร้อมแพลตฟอร์มการสอนออนไลน์ ห้องสัมมนา ห้องประชุมวิชาการ ห้องฝึกปฏิบัติอาชีพ ห้องแลปทางบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ ห้อง Co-Working Space และห้อง Hall of Fame ทั้งหมดได้รับการออกแบบตามมาตรฐานสากล (World Class)
ด้านการจัดการศึกษา คณะได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์ มีทั้งหลักสูตรปริญญาและหลักสูตรอบรมเพิ่มพูนทักษะ (Reskill-Upskill) ที่สามารถเปลี่ยนเป็นหลักสูตรสะสมเครดิต (Credit) ได้ โดยเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการระดับโลก (Global Entrepreneur) และดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital Technology) เพื่อนำคณะเข้าสู่การจัดอันดับโลก (World Ranking) ด้านบริหารธุรกิจ เช่น EdUniversal และ AACSB
คณะได้ปรับโครงสร้างการบริหารโดยยกเลิกการแบ่งหน่วยงานเป็นภาควิชา และใช้การบริหารจัดการเรียนการสอนในระดับหลักสูตร ปัจจุบันมีหลักสูตรทั้งภาษาไทยและนานาชาติรวม 8 หลักสูตร แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 4 หลักสูตร ได้แก่ บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) บริหารธุรกิจบัณฑิตนานาชาติ (B.B.A. International Program) เศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ (ศ.บ.) และบริหารธุรกิจบัณฑิตนานาชาติ การเป็นผู้ประกอบการระดับโลก (BBA Global Entrepreneur International program) ส่วนระดับบัณฑิตศึกษามี 4 หลักสูตร ประกอบด้วย บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตนานาชาติ (MBA International Program) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม (ปร.ด.) และปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมนานาชาติ (Ph.D. Industrial Business Administration)
นอกจากนี้ คณะยังมีศูนย์บริการวิชาการที่ดำเนินกิจกรรมด้านบริการวิชาการ วิจัย และฝึกอบรม โดยมีหลักสูตรฝึกอบรมหลากหลาย เช่น หลักสูตรยกระดับทักษะ (Reskill - Upskill) หลักสูตรอบรมระยะสั้น (Short course Training) หลักสูตรสะสมเครดิต (Credit Bank) และหลักสูตรอบรมผู้บริหารระดับสูง (Professional Development Program) ทั้งนี้ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ปัจจุบันคณะบริหารธุรกิจยังคงเสริมสร้างความแข็งแกร่งในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำทางด้านบริหารธุรกิจ ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ากับการศึกษาด้านบริหารธุรกิจอย่างครบวงจร พร้อมสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมและเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลก
พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน
เลื่อนไปด้านบน